บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ . ศ . 2540ได้วางกรอบแนวทางการพัฒนาองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไว้ดังนี้

มาตรา 70 บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจหรือของส่วนราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการไห้เป็นไป
ตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนร่วม อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนในการปฏิบัติ
และในการปฏิบัติการอื่นเกี่ยวข้องกับประชาชน บุคคล + ตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง

ในกรณีที่บุคลตามวรรคหนึ่งละเลยหรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้ามที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคล ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคลตามวรรคหนึ่งผู้บังคับบัญชาของบุคคลกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลและขอ
ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้

มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ส่วนท้องถิ่นฝั่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจ ท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและ
เท่าเทียมกับทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมไห้เป็นองค์กรส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยคำนึงถึง
เจตนารมณ์ของประชาชน จังหวัดนั้น

มาตรา 284 องค์กรส่วนท้องถิ่นทั้งหลายย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคลการเงินการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ

การกำหนดอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระหว่างองค์กรส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองให้เป็น
ไปตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยคำนึงถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้นให้แก่ท้องถิ่นเป็นสำคัญ

ในการกำหนดกรอบการกระจายอำนาจนั้นรัฐบาลให้ตราพระราชบัญญัติกำหนดแบบและขั้นตอนการกระจายอำนาจ
ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น

ในมาตรา 17 ดังนี้

มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการ
สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
(1) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
(2) การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(3) การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(4) การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(5) การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(6) การจัดการศึกษา
(7) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
(8) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
(9) การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(10) การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
(11) การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลรวม
(12) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
(13) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
(14) การส่งเสริมการท่องเที่ยว
(15) การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่น หรือจากสหการ
(16) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำทื่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(17) การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
(18) การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
(19) การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
(20) การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
(21) การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
(22) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(23) การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
(24) จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควร ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
(25) สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
(26) การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
(27) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
(28) จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่
ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
(29) กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

ตามแผนการกกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ . ศ . 2543 เป็นแผนที่กำหนดกรอบแนวคิด เป้าหมายและแนวทางการกระจายอำนาจให้เป็นไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผน ฯ ปี 2542

มีกรอบแนวคิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรอบแนวคิดการกระจายอำนาจให้แก่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นได้ยึดหลักการและสาระสำคัญ 3 ด้าน คือ

3.1  ด้านความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครองการบริหารจัดการการบริหารงานบุคคล
และการเงินการคลังของตัวเอง โดยยังคงรักษาความเป็นรัฐเดี่ยวและความมีเอกภาพของประเทศ การมีสถาบัน พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และความมั่นคงของชาติเอาไว้ได้ ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การเมืองการปกครองท้องถิ่น ภายใต้ระบบประชาธิปไตย

3.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น

รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของตนเองได้มากขึ้นโดยปรับบทบาทและ
ภารกิจของราชการบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนภูมิภาคและเพิ่มบทบาทให้ส่วนท้องถิ่นเข้าดำเนินการแทน เพื่อให้ราชบริหารส่วนกลางและราชการบริหารส่วนภูมิภาครับผิดชอบในภารกิจมหาภาค และภารกิจที่เกินกว่าขีด
ความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการได้โดยกำกัยดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านนโยบาย และด้านกฎหมายเท่าที่จำเป็น ให้การสนับสนุน ส่งเสริมด้านเทคนิควิชาการ และตรวจสอบติดตามประเมินผล

3.3 ด้านประสิทธิภาพการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ดีขึ้นหรือไม่ต่ำกว่าเดิม มีคุณภาพมาตารฐานการบริหารจัดการขององค์กรส่วนท้องถิ่นมีความโปร่งใส่มีประสิทธิภาพและรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน ภาคประชาสังคม และชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมดำเนินงานและติดตามตรวจสอบ

•  บทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกับการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (GOOD GOVERNANCE) ในการปรับกระบวนทัศน์ และกระบวนการจัดการตลอดจนการพัฒนาพนักงาน เจ้าหน้าที่ข้าราชการ บุคลากรตั้งแต่ระดับล่างจนถึงสูงสุดเพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์กว้างไกลทันสมัยด้านการพัฒนาบุคลากรส่งเสริมสนับสนุนให้รับการ
อบรมสัมมณาทัศนศึกษาดูงานและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นเช่นระดับปริญาญาโทเพื่อที่บุคลากรจะได้นำความรู้ที่ได้รับ
มาใช้ในการพัฒนาองค์กรและทำงานอย่างเกิดผลมีประสิทธิภาพ

อำนาจหน้าที่ที่ได้รับการถ่ายโอน ดังนี้

•  น้ำ โครงการส่งน้ำและโครงการรักษาภาษีเจริญ เฉพาะการดูแลรักษา ทางน้ำชลประทานประเภท 2 ได้แก่
1.  คลองท่าเสา
2. คลองมะเดื่อ
3. คลองแสนสุข
4. คลองราษฎรสามัคคี
5. คลองแนวลิขิต
6. คลองพรหมแดน
7. คลองน้อย
8. คลองภาษีเจริญ
9. คลองกระทุ่มแบน
10. คลองสี่วา
11. คลองแคลาย
12. คลองหมื่นปรารมย์
13. คลองบางน้ำจืด
14. คลองคอกกระบือ
15. คลองสี่วาภาสวัสดิ์
16. คลองแนวลิขิต
17. คลองขุดใหม่

•  การถ่ายโอนทับโครงสร้างพื้นฐาน เกี่ยวกับการกำกับ การตรวจหา การควบคุมทางหลวง ตลอดจนการบำรุงรักษาบูรณะ กาขยายการก่อสร้าง การจราจรบนทางหลวง รวมทั้งการปฏิบัติที่เกี่ยวกับงานทางเป็นไปได้ตามพระราชบัญญัติทางหลวง
พ . ศ . 2535

•  น้ำ ด้านการถ่ายโอนภารกิจ สาธารณูปโภค ( แหล่งน้ำ / ระบบประปาชนบท ) - กรมทรัพยากรภายในถ่ายโอน 13 ภารกิจดังนี้

1. ก่อสร้างระบบน้ำสะอาดหมู่บ้ามาตราฐาน ก และ ข
2. ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน ( น้ำผิงดิน )
3. ขุดสระ / ขุดหลอกหนองน้ำ
4. ก่อสร้างระบบประปาชนบท
5. ซ่อมและปรับปรุงระบบประปาชนบท
6. ถังเก็บน้ำแบบ ฝ .99
7. ประปาหมู่บ้านแบบบาดาลขนาดใหญ่
8. ทดสอบปริมาณน้ำ
9. ปรับปรุงหมู่บ้านเดิม
10. สำรวจทำแผนที่
11. ประปาหมู่บ้านแบบผิวดิน
12. ประปาหมู่บ้านแบบผิวดินขนาดใหญ่
13. ประปาหมู่บ้านแบบบาดาลขนาดกลาง

กรมชลประทานสมุทรสาครส่งมอบภารกิจการดูแลรักษาทางน้ำและโครงการขุดลอกหนองน้ำและคลองธรรมชาติของกรมชลประทาน
ได้แก่

1. การดูแลรักษาทางน้ำ

1.1 คลองมหาชัย ต . มหาชัย
1.2 คลองสุนัขหอน ต . ท่าจีน
1.3 คลองโคกขาม ต . พันท้ายนรสิงห์
1.4  คลองสหกรณ์ 3 ต . โคกขาม

2. โครงการขุดลอกหนองน้ำและคลองธรรมชาติ

2.1 คลองโคกขาม ต . พันท้ายนรสิงห์
2.2 คลองตัน ต . เกษตรพัฒนา
2.3 คลองสหกรณ์ ( สาย 3) ต . พันท้ายนรสิงห์
2.4 คลอง 2 ( สหกรณ์ ) ต . พันท้ายนรสิงห์

- กรมขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวีพิจารณามอบอำนาจถ่ายโอน ดังนี้

1.  การอนุญาตให้ขุดลอกดูแลรักษาล่องน้ำทางเดินเรือและงานติดตั้งบำรุงรักษา

2.  การอนุญาตให้ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ได้แก่ โรงยาสูบ การวางท่อ สายเคเบิ้ล การปักเสาไฟฟ้า

3.  การบริหารดูแลรักษา สถานี ขนส่งทางน้ำ ( ท่าเทียบเรือสาธารณะ )

4.  การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสิ่งล่วงล้ำทางน้ำ

-  กรมชลประทานส่งมอบภารกิจให้จำนวน 6 สาย

1.  คลองดำเนินสะดวก
2. คลองบ้านแพ้ว - ท่าแร้ง
3. คลองระบายน้ำสาย 7
4. คลองเลียบ ( ข้าง ) คันกั้นน้ำเดิม 1 สมุทรสงคราม - สมุทรสาคร
5. คลองเลียบ ( ข้าง ) ดินกั้นน้ำเดิม
6. คลองเลียบ ( ข้าง ) คันกั้นน้ำเดิมอเนกนิกร

กระทรวงคมนาคม กรมทางหลวงชนบท ถ่ายโอนให้ 17 ภารกิจ คือ

1. ทางหลวงชนบท ( ถนนภายในหมู่บ้าน )
2. ทางหลวงชนบท ( ถนนลาดยาง )
3. งานบำรุงรักษาทาง
4. โครงการปรับปรุงสะพานไม้พื้นสะพาน ค.ส.ล
5. การก่อสร้างถนนในหมู่บ้าน
6. ก่อสร้างทางลาดยาง
7. ก่อสร้างสะพาน ค.ส.ล
8. ก่อสร้างท่อ ค.ส.ล
9. ป้องกันการกัดเซาะคอสะพาน
10. บำรุงปกติผิวจราจร
11. บำรุงปกติผิวจราจรลาดยาง
12. บำรุงปกติผิวจราจรคอนกรีต
13. เสริมผิวลูกรัง
14. เสริมผิวลาดยาง
15. เสริมผิวลาดยางแอสฟัลท์ติก
16. บูรณะลาดยางและปรับปรุงทาง
17. สำรวจความเหมาะสมทางวิศวกรรม

สำนักงานทางหลวงชนบทสมุทรสาครถ่ายโอนงานเกี่ยวกับการทดสอบตรวจตราการควบคุมทางหลวงชนบทการบำรุงรักษาบูรณะ
การขยายการก่อสร้าง การจราจรบนทางหลวง รวมทั้งการปฏิบัติเกี่ยวกับงานทางตาม พรบ . ทางหลวง พ . ศ .2535

1. ถ่ายโอนสายทาง สค 2030 เฉลิมพระเกียรติประชาร่วมใจ ( ซอยมะขามแหวน ) ความยาว 1.38 กม .

- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมถ่ายโอนภารกิจด้านการฝึกอาชีพ - ภารกิจด้านการฝึกอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม

- กรมประมงถ่ายโอนกิจกรรมการฝึกอบรมผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับพื้นฐาน ( เพื่อการยังชีพ ) โดยไม่มีงบประมาณให้

- กรมควบคุมมลพิษ ถ่ายโอนด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ภารกิจตรวจสอบคุณภาพน้ำ / อากาศ / เสียง / ดำเนินการตามกฎหมาย และ ติดตาม , ตรวจสอบสิ่งแวดล้อม , มลพิษจากเหมืองเเร่

- กรมประชาสงเคราะห์ถ่ายโอน เบี้ยยังชีพคนพิการ / ฌาปนกิจสงเคราะห์

- กรมการแพทย์ / กระทรวงสาธารณสุข ถ่ายโอน ภารกิจบริการสาธารณสุขเขตเมือง

- กรมอนามัย / กระทรวงสาธารณสุข ถ่ายโอน อนามัยชุมชนบนพื้นที่สูง / พี่เลี้ยงเด็กในศูนย์สาธิต จัดหา พัฒนาน้ำสะอาด ( วัสดุ )

- กรมปกครอง / กระทรวงมหาดไทย ถ่ายโอน พร้อมเทียบปรับคดีอาญา , ประสานแผน / ระบบข้อมูลเพื่อการวางแผน

- กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ถ่ายโอน ภารกิจการดูแลสนามกีฬาทั่วประเทศ อบจ . รับผิดชอบถ่ายโอน สนามกีฬาระดับจังหวัด

กลับหน้าหลัก

Untitled Document